วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา
             กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคได้กำหนดว่า การโฆษณาสินค้า หรือ บริการนั้นจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวม และรวมถึงการโฆษณาในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือ จิตใจ หรือ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้บริโภค ลักษณะของข้อความโฆษณาที่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่
1.  ข้อความที่เป็นเท็จ หรือเกินจริง เช่น การใช้ข้อความโฆษณาที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีว่า เป็นนมโค 100 % ซึ่งเมื่ออ่านฉลากโภชนาการที่บรรจุกลับมีส่วนผสมแยกให้เห็นว่า บางยี่ห้อมีนมโคผสมเพียง 50 % หรือ มากที่สุด 85 % เท่านั้น
2.  ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และบริการ เช่น การโฆษณาว่าผู้ประกอบธุรกิจจะมอบแหวนเพชรให้ฟรีเพียงชำระเงิน 90 บาท เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการส่งและบรรจุหีบห่อ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าแหวนมีราคาต้นทุนนำเข้ามาจากประเทศฮ่องกง เป็นแหวนที่เจียระไนจากเศษเพชรมีมูลค่าวงละ 27.50 บาท ค่าภาษีอากรในการนำเข้าวงละ 14.17 บาท รวม 41.67 บาท น้อยกว่าค่าธรรมเนียมในการส่งถึง 48.33 บาท จึงเป็นการใช้ข้อความโฆษณาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ค่าธรรมเนียมส่งเป็นส่วนประกอบเล็กน้อย เมื่อเทียบกับมูลค่าของแหวนเพชรที่มีราคาสูง
3.  ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรง หรือ โดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียวัฒนธรรมของชาติ เช่น การโฆษณาในลักษณะนำภาพหญิงสาวสวมชุดว่ายน้ำ พร้อมระบุข้อความเชิญชวนให้โทรศัพท์มาคุย เช่น เพื่อความสุขที่สุดยอดที่คุณเลือกสรรได้จากน้อง ๆ สาวสวยสุดเซ็กซี่ และรวยเสน่ห์ มีให้คุณเลือกมากมาย อยากรู้โทรมาซิคะ เป็นต้น
4.    ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือ เสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
5.  ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น การโฆษณารถยนต์ยี่ห้อหนึ่งโดยจัดให้มีการเสี่ยงโชคเพื่อรับรางวัล คือ รถยนต์ บัตรกำนัล และของรางวัลอื่น ๆ ซึ่งการจัดรายการดังกล่าวเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัท เข้าลักษณะเป็นการจัดให้มีรางวัลด้วยการเสี่ยงโชคในการประกอบกิจการค้า ต้องกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการเสี่ยงโชค และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน แต่บริษัทไม่มีหลักฐานการยื่นขออนุญาต และโฆษณาไม่ระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการเสี่ยงโชค การโฆษณาจึงเข้าลักษณะของข้อความที่กำหนดในกฎกระทรวงถือว่าเป็นการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค
               ในกรณีคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่า ข้อความในโฆษณามีลักษณะอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้โฆษณาแก้ไขข้อความ หรือห้ามการใช้ข้อความบางอย่างในการโฆษณา หรือ ห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา หรือ ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นแล้ว

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค

    เป็นกฎหมายด้านสังคมที่กำหนดเพื่อป้องกันผู้บริโภคจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉล เกี่ยวพันกับธุรกิจโดยทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ การเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจการค้าและผู้ที่ประกอบธุรกิจโฆษณา ได้นำวิชาการในทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการ ซึ่งการกระทำดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคไม่อยู่ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้า และบริการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้น ในบางกรณีแม้จะมีกฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยการกำหนดคุณภาพและราคาของสินค้าและบริการอยู่แล้วก็ตาม แต่การที่ผู้บริโภคแต่ละรายจะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการป หรือผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นการไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้ และในบางกรณีก็ไม่อาจระงับห รือยับยั้งการกระทำที่จะเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคได้ทันท่วงที 

            แบ่งออกเป็น 4 หมวด 62 มาตรา ได้แก่ 



 หมวด 1 ว่าด้วยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภ
  1. ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ดำเนินการ เกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และบริการที่อาจก่อความเสียหาย หรือเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค พิจารณาคำวินิจฉัย อุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง วางระเบียบ สอดส่องเจ้าหน้าที่ ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
  2. ให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา
  3. ให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ผู้ประกอบธุรกิจ สนับสนุนการศึกษาวิจัย ให้การศึกษาแก่ ผู้บริโภค เผยแพร่งานทางวิชาการ
 หมวด 2 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
แบ่งเป็น 3 ส่วน
  • ส่วนที่ 1 ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา กำหนดห้ามไม่ให้ทำการโฆษณาที่ใช้ข้อความเกินจริง หลวกลวง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ละเมิดสิทธิ และกำหนดให้ผู้ประกอบการที่สงสัยว่าการโฆษณาของตนจะฝ่าฝืนกฎหมาย หรือไม่สามารถขอความเห็นจากคณะกรรมการเฉพาะเรื่องโดยเสียค่าธรรมเนียมได้
  • ส่วนที่ 2 การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก กำหนดให้สินค้าที่ผลิตในประเทศ และนำเข้ามาขายเป็นสินค้าควบคุมฉลากที่ต้องมีลักษณะที่ใช้ข้อความที่ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระของสินค้า ข้อความจำเป็นที่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นสาระตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด
    ส่วนที่ 2 ทวิ การคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้อำนาจคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มีอำนาจกำหนดประเภทธุรกิจที่ควบคุมการทำสัญญาที่กำหนด ให้ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ ห้ามใช้สัญญาที่ไม่เป็นธรรม
  • ส่วนที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภคโดยประการอื่น กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจให้มีการทดสอบ พิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตราย และมีคำสั่งห้ามขายสินค้าที่อาจเป็นอันตรายได้ และกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานอัยการ โดยความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อดำเนินคดีทางแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

 หมวด 3 ว่าด้วยการอุทธรณ์

  กำหนดให้ผู้ได้รับคำสั่งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องสามารถอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 
หมวด 4 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ 
 กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งจำและหรือทั้งปรับ โดยมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหนึ่งปี 

สคบ. ช่วยเหลือผู้บริโภคได้อย่างไร

รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค
 
            ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาดำเนินการ
ต่อไป ผู้บริโภคทุกท่านที่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือได้รับอันตรายจากสินค้าหรือบริการใด สามารถร้องเรียนมาที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค ทำเนียบรัฐบาล กทม.10300
 โดยการเขียน จดหมาย ส่งตู้ ป.ณ. 99 กรุงเทพฯ 10300 หรือมาด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์
สายด่วนร้องทุกข์โทร. 1166
 
การร้องเรียน หรือการช่วยกันสอดส่องและแจ้งมายังสำนักงานฯ นั้นเป็นสิทธิที่ ผู้บริโภคพึง กระทำได้ นอกจากนั้น
ยังเป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ประกอบธุรกิจได้สำนึกและบรรเทาการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้บริโภคได้บ้าง และประการสำคัญก็คือ เป็นการช่วย ให้สำนักงานฯ 
ทราบปัญหาของผู้บริโภคและดำเนินการช่วยเหลือได้เต็มที่ ซึ่งในการช่วยเหลือผู้บริโภคในด้านนี้ สำนักงานฯ มี สายงานที่รับผิดชอบอยู่โดยตรง คือ 
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากและ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โปรดระลึกอยู่เสมอว่าท่านไม่จำเป็นต้องอดทน
ต่อความไม่ปลอดภัยหรือการเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ประกอบธุรกิจอีกต่อไป ผู้บริโภคทุกท่านมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง
 
ติดตาม และสอดส่องพฤติกรรม
            พฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และจัดให้มี การทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า หรือบริการ
ใดๆตามที่เห็นสมควรและจำเป็น เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะในปัจจุบันมีการเสนอสินค้าหรือบริการต่างๆ ต่อผู้บริโภคเป็นจำนวนมากและ
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยใช้วิธีการและเทคนิคใหม่ๆ ในทางการตลาดและทางการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขาย โดยทั่วไปผู้บริโภคไม่อาจทราบภาวะตลาดและ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพและราคา ของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง สำนักงานฯ จึงต้องมีบทบาทในการติดตามและสอดส่อง พฤติการณ์ของ
ผู้ประกอบธุรกิจ และดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ในบางครั้ง เป็นการช่วยเหลือ ผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมตามสมควร
 
สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวิจัยปัญหา
 
            เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น เพื่อที่จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ ผู้บริโภคได้ตรงกับปัญหาและความต้องการ 
ตัวอย่างในการดำเนินการในข้อที่ผ่านมาได้แก่ การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาปราบศัตรูพืชและการสำรวจทัศนคติเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
 
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
 
            ในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือบริการผู้บริโภคควรจะได้ เรียนรู้และเข้าใจปัญหาตลอดจนวิธีการ
ป้องกันหรือหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะได้สามารถคุ้มครองตนเองในเบื้องต้นก่อนนอกเหนือจากความช่วยเหลือจากรัฐบาลการส่งเสริมและการสนับสนุนให้มี
การศึกษาแก่ผู้บริโภคในทุกระดับจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญ อันหนึ่งของสำนักงานฯ
 
ดำเนินการเผยแพร่วิชาการ
 
           ให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้บริโภค เพื่อสร้างนิสัยในการบริโภคที่เป็นการส่งเสริมพลานามัย ประหยัด และใช้ทรัพยากร ของชาติให้เป็นประโยชน์
มากที่สุด โดยสำนักงานฯ มีสายงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงคือ กองเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์ ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ทางวิชาการ
ในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อยู่เป็นประจำ นอกจากนั้นยังมีเอกสาร บทความ ข่าวสาร จากสำนักงานฯ แจกฟรีแก่ผู้สนใจอีกด้วยเป็นการส่งเสริม ให้ผู้บริโภคมีความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างกว้างๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันการเผยแพร่ความรู้ของ
สำนักงานฯ นั้นส่วนใหญ่จะเสนอสาระประโยชน์ด้วยถ้อยคำและภาษาที่เข้าใจง่ายแต่แฝง ความรู้ทางวิชาการไว้
 
ประสานงานกับส่วนงานราชการ
 
            หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าประเภท
อุปโภคบริโภค สคบ. มีสายงานรับผิดชอบในด้านนี้คือ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากและกองคุ้มครอง ผู้บริโภคด้าน
สัญญา ทำงานประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย และเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนี้ 
          - สินค้าที่เป็นอันตราย เช่น อาหารผสมสีย้อมผ้า อาหารไม่บริสุทธิ์ 
          - สินค้าที่ไม่ปลอดภัย เช่น พืชผลไม้ซึ่งมียาป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ จะประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามที่เห็นสมควร 
          - สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน เช่น น้ำมันปลอมปน สินค้าเลียนแบบ 
          - สินค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น ขายสินค้าเกินราคา สินค้าที่มีปริมาณไม่ตรงตามมาตราชั่ง ตวง วัด จะประสานงานกับกรม การค้าภายในกรมทะเบียน
การค้าและเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจออกดำเนินการตรวจสอบ จับกุมและดำเนินคดี 
          - บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภค สินค้าหรือบริการที่โฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความเป็นจริง สินค้าที่แสดงฉลาก หลอกลวงคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
จะกำหนดมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการเหล่านี้ด้วยและสำนักงานฯ ก็มีหน้าที่ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ เหล่านั้นอยู่เสมอ
 
ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
 
            ที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคือการแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิด ความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิของ
ผู้บริโภค โดยอาจระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้ นอกจากนั้นยังมีการประสานงานเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ
หรือ หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ให้ปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด หรือกล่าวง่ายๆ คือ เป็นตัวแทนของผู้บริโภค คอยประสานงานเร่งรัด
ให้หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ ดำเนินการ เพื่อคุ้มครองประโยชน์สุขของผู้บริโภค ประการสุดท้ายที่สำคัญคือสำนักงานฯ ยังมีกองนิติการซึ่ง
รับผิดชอบใน ด้านกฎหมายสามารถจะดำเนินการคดีเพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของ ผู้บริโภคในศาลตามที่คณะกรรมการ มอบหมายและ
ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ร้องขอได้ด้วย 

หน้าที่ของผ้บริโภค

  การที่ผู้บริโภคจะได้รับสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายนั้น ผู้บริโภคก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติด้วย หน้าที่ของผู้บริโภคนั้นพอสรุปได้ดังนี้
            1. ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าและรับบริการต่างๆ โดยพิจารณาว่าสินค้าหรือบริการต่างๆ นั้นมีการแสดงฉลากหรือไม่ ควรอ่านฉลากให้ละเอียด มีปริมาณและราคายุติธรรมหรือไม่ การโฆษณาสินค้าหรือบริการสามารถเชื่อถือได้เพียงใด
            2. ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลังฐานต่างๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิ หลักฐานต่างๆนั้น เช่น ใบเสร็จรับเงิน แผ่นพับ 
ฉลาก
 ความสกปรก สิ่งแปลกปลอม เป็นต้น หลักฐานดังกล่าวนั้นจะนำไปเป็นหลักฐานประกอบการเรียกร้องตามสิทธิของตน เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบ และได้รับอันตรายที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการ
            3. ผู้บริโภคมีหน้าที่ร้องเรียนตามสิทธิของตน เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ ได้รับความไม่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบ ได้รับอันตรายที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการ จะต้องดำเนินการฟ้องร้องหรือร้องเรียนตามสิทธิของตน ไม่ควรเพิกเฉย

ความหมายของผู้บริโภค

  ผู้บริโภค หมายความว่า  ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ  
เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือ บริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความหมายของผู้บริโภค

 ผู้บริโภค หมายความว่า  ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจ  
เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือ บริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

สิธิผู้บริโภค

      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติถึงสิทธิ
ของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 ว่า"สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"
                  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
                  1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการ
แสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ
ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม 

                  2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการ
ชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม 

                  3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน
เหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว 

                  4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ 

                  5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว